ประวัติโรงเรียน

ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนอนุบาลวัดนางนอง ตั้งอยู่เลขที่ 74 ถนนวุฒากาศ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร เริ่มเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 โดย พระคุณเจ้าวุฒิญาณมุนี เจ้าอาวาสวัดนางนองวรวิหาร ได้อนุญาตให้ทางราชการใช้ที่ดินของวัดจำนวน 1 ไร่ 3 งาน 88 ตารางวา (4,570 ตารางเมตร) ด้านติดกับทางเข้าวัดหนัง เป็นสถานที่ก่อสร้างอาคารเรียน โดยมี นางประชุมพร เอกพจน์ เป็นครูใหญ่คนแรก

เริ่มแรกโรงเรียนนี้สังกัดกองการศึกษาพิเศษ แผนกอนุบาล กรมสามัญศึกษา ทางราชการได้อนุมัติให้ก่อสร้างเป็นอาคารชั้นเดียวมี 6 ห้องเรียน เป็นที่ทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีครู 4 คน มีนักเรียน 60 คน นักการภารโรง 2 คน

พ.ศ. 2511 โรงเรียนได้งบประมาณจากทางราชการ เป็นเงิน 1,500,000 บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน) ให้เปลี่ยนแปลงอาคารไม้ชั้นเดียวเป็นอาคารสองชั้นครึ่ง ครึ่งตึก ครึ่งไม้ จำนวน 11 ห้องเรียน เป็นรูปตัว L

พ.ศ. 2512 โรงเรียนได้รับงบประมาณจากทางราชการ เป็นเงิน 700,000 บาท (เจ็ดแสนบาทถ้วน) ให้เปลี่ยนแปลงอาคารไม้อีกด้านหนึ่งเป็นอาคารสองชั้น ครึ่งตึก ครึ่งไม้ จำนวน 13 ห้องเรียน เป็นรูปตัว U รวม 24 ห้องเรียน ภายในอาคารมีห้องประชุม ห้องจัดอาหาร ห้องเก็บอุปกรณ์ และห้องน้ำห้องส้วมอยู่ในอาคารชั้นล่าง

พ.ศ. 2518 ได้เปลี่ยนแปลงผู้บริหาร คือ นางประชุมพร เอกพจน์ ได้ย้ายไปประจำที่แผนกสถิติ กรมสามัญศึกษา และ นางจิรภา ใจชื่น ได้มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่แทน ขณะนั้นมีครู 41 คน นักเรียน 1,075 คน นักการภารโรง 8 คน

พ.ศ. 2518 การดำเนินงานของโรงเรียนได้เจริญก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไปให้ความศรัทธานำบุตรหลานมาฝากเข้าเรียนเป็นจำนวนมาก จนโรงเรียนไม่สามารถรับได้ ทางราชการจึงอนุมัติเงิน จำนวน 110,000 บาท (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นบาทถ้วน) เพื่อสร้างเป็นอาคารชั่วคราว 4 ห้องเรียน ในบริเวณวัดใกล้กับวิหารเก่า

พ.ศ. 2521 โรงเรียนได้รับอนุมัติเงินจากทางราชการ ได้สร้างอาคารเรียนเป็นตึก 4 ชั้น จำนวน 12 ห้องเรียน ใต้ถุนโล่งบริเวณด้านหลังของโรงเรียน

ถึงแม้จะมีอาคารเรียนเพิ่มขึ้นมากแต่ก็ยังไม่สามารถสนองความต้องการของผู้ปกครองได้ ทางโรงเรียนจึงขออนุมัติจากการกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการเรียนการสอนชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่2 เป็น2 ผลัด ซึ่งทางราชการก็ได้อนุมัติ ในการจัดการเรียนการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน (หูตึง) ซึ่งเป็นการเรียนร่วม ระหว่างเด็กปกติกับเด็กพิเศษของกองการศึกษาพิเศษ

พ.ศ. 2523 โรงเรียนได้โอนมาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ

พ.ศ. 2527 ได้เปลี่ยนผู้บริหารจาก นางจิรภา ใจชื่น มาเป็น นางอารี ชุ่มเมืองปัก เนื่องจากเกษียณอายุ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2527 ขณะนั้นมีครู 76 คน ซึ่งรวมครูช่วยราชการด้วย มีนักเรียน 1,597 คน มีนักการภารโรง 10 คน พนักงานพิมพ์ดีด 1 คน พนักงานขับรถ 1 คน

พ.ศ. 2528 โรงเรียนได้รับงบประมาณจากทางราชการ สร้างอาคาร 4 ชั้น ใต้ถุนโล่ง เป็นเงิน 4,410,000 บาท ( สี่ล้านสี่แสนหนึ่งหมื่นบาทถ้วน) เป็นอาคารสร้างทดแทนด้านพระอุโบสถ จำนวน 15 ห้อง สร้างแล้ว เสร็จปี 2530 ได้ยกเลิกการสอน 2 ผลัด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ยังคงเหลือแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 – 2 เท่านั้น เพราะอาคารเรียนยังไม่พอ

พ.ศ. 2532 นางอารี ชุมเมืองปัก ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลวัดปรินายก ในเดือนพฤศจิกายน นางสาวศรีหยัด ท้าวสัน ย้ายมาดำรงตำแหน่งแทน

พ.ศ. 2534 นางสาวศรีหยัด ท้าวสัน ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบางบัว

พ.ศ. 2534 นางสาวมณีกุล นาคะวิทย์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเมื่อเดือนมีนาคม 2534 ขณะนั้นมีครูอาจารย์ 70 คน ครูช่วยราชการ 6 คน ไปช่วยราชการ 2 คน นักเรียน 1,637 คน นักการภารโรง 15 คน พนักงานพิมพ์ดีด 1 คน พนักงานขับรถ 1 คนและในปีนี้โรงเรียนได้รับงบประมาณจากทางราชการ 10 ล้านบาท สร้างอาคารทดแทนเพิ่มอีก1หลัง เป็นอาคาร 4 ชั้นมีดาดฟ้าจำนวน 23 ห้องเรียน ห้องน้ำ ห้องส้วม อยู่ในอาคาร

พ.ศ. 2535 สร้างอาคารแล้วเสร็จ ซึ่งตรงกับอายุกระทรวงศึกษาธิการครบ 100 ปี จึงได้ชื่อว่า “ อาคารที่ระลึก 100 ปี กระทรวงศึกษาธิการ ” และยกเลิกการเรียน 2 ผลัด ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 และ 2 ในปีนี้มีครู 69 คน ครูช่วยราชการ 5 คน นักเรียน 1,639 คน นักการภารโรง11 คน พนักงานพิมพ์ดีด 1 คน พนักงานขับรถ 1 คน

พ.ศ. 2536 มีห้องเรียน 42 ห้องเรียน เป็นชั้นอนุบาลปีที่ 1 – 2 ชั้นละ 6 ห้องเรียน ชั้นประถมศึกษา 30 ห้องเรียน มีครู 73 คน มาช่วยราชการ 5 คน นักเรียน 1,662 คน นักการภารโรง 11 คน พนักงานพิมพ์ดีด 1 คน พนักงานขับรถ 1 คน

พ.ศ. 2537 มีห้องเรียน 42 ห้อง ชั้นอนุบาล 1 – 2 ชั้นละ 6 ห้องเรียน ชั้นประถมศึกษา 30 ห้องเรียน มีครู 77 คน มาช่วยราชการ 4 คน นักการภารโรง 11 คน พนักงานพิมพ์ดีด 1 คน พนักงานขับรถ 1 คน นักเรียน 1,704 คน

พ.ศ. 2538 มีห้องเรียน 42 ห้อง มีครู 69 คน มาช่วยราชการ 3 คน นักการภารโรง พนักงานพิมพ์ดีด พนักงานขับรถ รวม 13 คน นักเรียน 1,704 คน

พ.ศ. 2539 มีห้องเรียน 42 ห้อง มีครู 69 คน มาช่วยราชการ 4 คน นักการภารโรง พนักงานพิมพ์ดีด พนักงานขับรถ รวม 13 คน นักเรียน 1,709 คน

พ.ศ. 2540 สร้างอาคารเรียนแบบพิเศษขนาด 4 ชั้น 3 ห้องเรียน ใต้ถุนโล่งด้วยงบประมาณ 2,660,000 บาท (สองล้านหกแสนบาทถ้วน)

พ.ศ. 2541 ต่อเติมชั้นล่างของอาคารเรียนแบบพิเศษเป็นห้องสมุดและชั้นดาดฟ้าเป็นเรือนเพาะชำ ดำเนินการเชื่อมต่ออาคารเรียน 100 ปี กระทรวงศึกษาธิการกับอาคาร 1 เปลี่ยนหลังคาห้องพลศึกษาชั้นดาดฟ้าอาคารเรียน 100 ปี กระทรวงศึกษาธิการเป็นแผ่นกระเบื้อง ปรับปรุงด้านข้างของอาคารเรียน 100 ปี กระทรวง ศึกษาธิการเป็นสวนหย่อม และปรับปรุงสนามเด็กเล่นของนักเรียนชั้นอนุบาล ปรับปรุงห้องโสตทัศนูปกรณ์ ห้องสหกรณ์ และห้องจริยศึกษา

พ.ศ. 2542 ปรับปรุงด้านหลังอาคาร 424 ล. เป็นห้องศิลปศึกษาและห้องสมุด 2 ด้วยงบบริจาค เป็นเงิน 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน)

พ.ศ. 2543 ติดตั้งลิฟท์ขนส่งอาหารนักเรียนด้านข้างอาคาร 100 ปี กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2544 ต่อหลังคากันฝนอาคารเรียน 2 หลัง ระหว่างอาคาร 100 ปี กับอาคาร 424 ล. ด้านหน้าสนามโรงเรียน

พ.ศ. 2545 ทาสีอาคารเรียนทั้งหมด ปรับปรุงห้องน้ำ ห้องส้วม ปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์

พ.ศ. 2545 นายประเสริฐ นิตย์มี ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน เมื่อเดือนตุลาคม 2545 มีข้าราชการครู จำนวน 60 คน ครูจ้างสอน 11 คน ลูกจ้างประจำ 12 คน นอกจากนี้ยังจ้างชาวต่างประเทศสอนวิชาภาษาอังกฤษอีก 2 คน ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ด้วย

พ.ศ. 2546 ปรับปรุงห้องสหกรณ์ ห้องอาหารของนักเรียน ห้องสอนศิลปะ และห้องโสตทัศนูปกรณ์

พ.ศ. 2547 ปรับปรุงห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ มีอุปกรณ์การสอนคณิตศาสตร์ที่ทันสมัย มีคอมพิวเตอร์จำนวน 6 เครื่อง เพื่อให้นักเรียนได้เรียนคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรมคณิตศาสตร์ GSP

พ.ศ. 2549 นายเจิด มั่นคง ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2549 มีข้าราชการครูจำนวน 57 คน พนักงานราชการ 7 คน ครูจ้างสอน 9 คน ครูภายนอก 2 คน ลูกจ้างประจำ 10 คน นอกจากนั้นโรงเรียนได้ปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการภาษา อังกฤษ ห้องพลศึกษา และห้องสมุด ให้มีขนาดใหญ่มากขึ้นเหมาะสมกับจำนวนนักเรียน นอกจากนั้นโรงเรียนได้ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอก จาก สมศ .และผ่านการประเมินเป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝัน

พ.ศ. 2550 นายอำนวย พุทธมี ย้ายมาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม2550 มีข้าราชการครู จำนวน 53 คน พนักงานราชการ 7 คน ครูจ้างสอน 10 คน ครูภายนอก 3 คน ลูกจ้างประจำ 9 คน ลูกจ้างชั่วคราว 3 คน จำนวนห้องเรียน 37 ห้องเรียนโดยลดชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ลง 1ห้อง ได้ปรับปรุงภูมิทัศน์ของโรงเรียนพื้นสนาม ห้องประชุม อ.ว.น. ร่วมใจ และห้องประชุมพระเทพสิทธิเวที ด้วยเงินรายได้สถานศึกษา

ปี พ.ศ.2551 มีห้องเรียน 35ห้อง โดยลดชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ลง 1 ห้องเรียน และชั้นอนุบาลปีที่ 1 ลง 1 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียน 1,305 คน ข้าราชการครู 53 คน พนักงานราชการ 6 คน ครูจ้างสอน 10 คน ลูกจ้างประจำ 9 คน และลูกจ้างชั่วคราว 3 คน

ปี พ.ศ. 2552 ปรับปรุงภูมิทัศน์ด้านหลังโรงเรียน โดยทำประตูด้านหลังโรงเรียนใหม่ ปรับปรุงพื้นที่ในห้องครัวให้สูงขึ้น

ปี พ.ศ. 2553 ปรับปรุงพื้นที่ซึ่งเป็นเรือนเกษตรบริเวณดาดฟ้าเดิมให้เป็นห้องเรียนดนตรีสากล ปรับปรุงห้องเรียนดนตรีไทยโดยใช้เงินงบประมาณ และปรับปรุงห้องอาหารเดิมเป็นห้องรับรอง มนูญผล

ปี พ.ศ. 2554 ปรับปรุงพื้นที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการพลศึกษาและสุขศึกษาบริเวณดาดฟ้าอาคารที่ระลึก 100 ปี กระทรวงศึกษาธิการ ซ่อมแซมขอบบันไดอาคารเรียนและทาสีซ่อมอาคารเรียน

ปี พ.ศ. 2555 จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์เพื่อแจ้งข่าวสารถึงผู้ปกครองและป้ายนิเทศตลอดแนวของสนามเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษา ทาสีอาคารเรียน ซ่อมช่องระบายอากาศที่ชานพักบันไดทางขึ้น-ลงอาคารเรียน

ติดต่อเรา