นโยบายและการดำเนินการบริหารทรัพยากรบุคคล

การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง
     1. ดําเนินการสรรหาเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษาในสถานศึกษาเป็นอํานาจหน้าที่ของผู้มีอํานาจตามมาตรา53
          แนวทางการปฏิบัติ
                 1) การสอบแข่งขัน การสอบคัดเลือกและการคัดเลือกในกรณีจําเป็นหรือมีเหตุพิเศษในตําแหน่ง ครูผู้ช่วย ครู และบุคลากรทางการศึกษาอื่นในสถานศึกษา ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กําหนด
   2. การจ้างลูกจ้างประจําและลูกจ้างชั่วคราว แนวทางการปฏิบัติ
               1) กรณีการจ้างลูกจ้างประจําและลูกจ้างชั่วคราวโดยใช้งบประมาณให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กระทรวงการคลังหรือตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ก.ค.ศ. กําหนด
2) กรณีการจ้างลูกจ้างประจําและลูกจ้างชั่วคราวกรณีอื่นนอกเหนือจากข้อ 1) สถานศึกษา สามารถดําเนินการจ้างลูกจ้างประจําและลูกจ้างชั่วคราวของสถานศึกษาได้ โดยใช้เงินรายได้ของ
สถานศึกษา ภายใต้หลักเกณฑ์และวิธีการที่สถานศึกษาได้ โดยใช้เงินรายได้ของสถานศึกษา ภายใต้ หลักเกณฑ์และวิธีการที่สถานศึกษากําหนด

การรักษาราชการแทนและรักษาการในตําแหน่ง
แนวทางการปฏิบัติ

      กรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการสถานศึกษา หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้รอง ผู้อํานวยการสถานศึกษารักษาราชการแทน ถ้ามีรองผู้อํานวยการสถานศึกษาหลายคนให้ผู้อํานวยการ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา แต่งตั้งรองผู้อํานวยการสถานศึกษาคนใดคนหนึ่งรักษาราชการแทน ถ้า ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งรองผู้อํานวยการ ให้สถานศึกษาเสนอข้าราชการที่เหมาะสม ให้ผู้อํานวยการ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา แต่งตั้งข้าราชการในสถานศึกษาคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน (มาตรา 54 แห่งกฎหมายระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
กรณีตําแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตําแหน่งใดว่างลงหรือผู้ดํารงตําแหน่ง ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ ให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 53 สั่งให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษารักษาการในตําแหน่ง (มาตรา 68 แห่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ ครูและบุคลากรทางการศึกษา)

การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
1. การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
            1.1 การพัฒนาก่อนมอบหมายการปฏิบัติหน้าที
แนวทางการปฏิบ้ติ
(1) ผู้อํานวยการสถานศึกษาดําเนินการปฐมนิเทศ แก่ผู้ที่ได้รับการสรรหา และบรรจุแต่งตั้ง เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา
(2) แจ้งภาระงานมาตรฐานคุณภาพงาน มาตรฐานวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ เกณฑ์การ ประเมินผลงาน ฯลฯ แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ก่อนมีการมอบหมาย หน้าที่ให้ปฏิบัติงาน
(3) ดําเนินการติดตาม ประเมินผลและจัดให้มีการพัฒนาตามความเหมาะสมและต่อเนื่อง

 2. การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
2.1 การเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีปกติและกรณีพิเศษ
แนวทางการปฏิบัติ
                         (1) ผู้อํานวยการสถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาความดีความชอบของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา
(2) คณะกรรมการพิจารณาความดีความชอบพิจารณาตามกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการเลื่อนขั้น
เงินเดือน
(3) ผู้อํานวยการสถานศึกษาพิจารณาสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษา กรณีสั่งไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ต้อง ชี้แจงเหตุให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาดังกล่าวทราบ
กรณีเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษ แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ถึงแก่ความตาย อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการให้รายงานไปยังสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อดําเนินการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กําหนด
(4) รายงานการสั่งเลื่อนและไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ไปยังสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อจัดเก็บข้อมูลลงในทะเบียนประวัติต่อไป

3 การเพิ่มค่าจ้างลูกจ้างประจําและลูกจ้างชั่วคราว
แนวทางการปฏิบัติ

กรณีการเพิ่มค่าจ้างลูกจ้างประจําและลูกจ้างชั่วคราวโดยใช้เงินงบประมาณให้ดําเนินการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังหรือตามหลักเกณฑ ์และวิธีการที่สํานักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกําหนด
กรณีการเพิ่มค้าจ้างลูกจ้างประจําและลูกจ้างชั่วคราวกรณีอื่นนอกเหนือจากสถานศึกษา สามารถดําเนินการ จ้างลูกจ้างประจําและลูกจ้างชั่วคราวของสถานศึกษาได้ โดยใช้เงินรายได้ของ สถานศึกษา ภายใต้หลักเกณฑ์และวิธีการที่สถานศึกษากําหนด

4. การดําเนินการเกี่ยวกับบัญชีถือจ่ายเงินเดือน 
            แนวทางการปฏิบัติ
             ดำเนินการตามที่กระทรวงการคลังกําหนด 

    5. เงินวิทยฐานะและค่าตอบแทนอื่น
แนวทางการปฏิบัติ
           ดําเนินการตามที่กระทรวงการคลังกําหนด

งานทะเบียนประวัติ

1) การจัดทําและเก็บรักษาทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและลูกจ้าง

แนวทางการปฏิบัติ
(1) สถานศึกษาจัดทําทะเบียนประวัติของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จํานวน 2 ฉบับ
(2) สถานศึกษาเก็บไว้ 1 ฉบับ ส่งไปเก็บรักษาไว้ที่สํานักเขตพื้นที่ 1 ฉบับ
(3) เปลี่ยนแปลง บันทึกข้อมูล ลงในทะเบียนประวัติ

  1) ตรวจสอบผู้มีคุณสมบัติครบ สมควรไดรับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
2) ดําเนินการในการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลาแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกําหนด
3) จัดทะเบียนผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดิเรกคุณาภรณ์และผู้คืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์

การขอมีบัตรประจําตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
      แนวทางการปฏิบัติ
         1) ผู้ขอมีบัตรกรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ โดยมีเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
2) ตรวจสอบเอกสารความถูกต้อง
3) นําเสนอผู้มีอํานาจลงนามในบัตรประจําตัว โดยผ่านผู้บังคับบัญชาตามลําดับ โดยคุมทะเบียนประวัติไว้
4) ส่งคืนบัตรประจําตัวถึงสถานศึกษา

กรณีความผิดวินัยไม่ร้ายแรง
     แนวทางการปฏิบัติ
          1) ผู้อํานวยการสถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อดําเนินการสอบสวนให้ได้ความจริงและ ความยุติธรรมโดยไม่ชักช้าเมื่อมีกรณีอันมีมูล ที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษาในสถานศึกษากระทําผิดวินัยไม่ร้ายแรง
2) ผู้อํานวยการสถานศึกษาสั่งยุติเรื่องในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนแล้วพบว่าไม่ได้กระทําผิด วินัย หรือสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ตามที่คณะกรรมการสอบสวนแล้ว พบว่ามีความผิดวินัยไม่ร้ายแรง
3) รายงานการดําเนินงานทางวินัยไม่ร้ายแรงไปยังสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

กรณีความผิดวินัยร้ายแรง
    แนวทางการปฏิบัติ
1) ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 53 แห่งกฎหมายระเบียบข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีอันมีมูลว่าข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎ ก.ค.ศ.
2) ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 53 แห่งกฎหมายระเบียบข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา เสนอผลการพิจารณาให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่พิจารณาลงโทษ
3) ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 53 แห่งกฎหมายระเบียบข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษา สั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามผลการพิจารณาของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่
4) รายงานการดําเนินงานทางวินัยไปยังสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

การอุทธรณ์กรณีความผิดวินัย
แนวทางการปฏิบัติ
            กรณีการอุทธรณ์ความผิดวินัยที่ไม่ร้ายแรง ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษายื่น เรื่องขออุทธรณ์ต่อ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่งตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่ ก.ค.ศ.กําหนด
กรณีการอุทธรณ์ความผิดวินัยร้ายแรง ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษายื่นเรื่องขอ อุทธรณ์ต่อ ก.ค.ศ. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กําหนด

การร้องทุกข์
    แนวทางการปฏิบัติ
         กรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาถูกสั่งให้ออกจากราชการให้ร้องทุกข์ต่อ ก.ค.ศ. ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่ง
กรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความคับข้องใจ เนื่องจากการกระทําของผู้บังคับบัญชา หรือการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ให้ร้องทุกข์ ต่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่หรือ ก.ค.ศ.แล้วแต่กรณี

การเสริมสร้างและการป้องกันการกระทําผิดวินัย
     แนวทางการปฏิบัติ
       1) ให้ผู้อํานวยการสถานศึกษาปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
2) ดําเนินการให้ความรู้ ฝึกอบรมการสร้างขวัญและกําลังใจการจูงใจ ฯลฯ ในอันที่จะเสริมสร้างและพัฒนาเจตคติจิตสํานึก และพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชา

1. การลาออกจากราชการ
     แนวทางการปฏิบัติ
         1) ผู้อํานวยการสถานศึกษาพิจารณาอนุญาตการลาออกจากราชการของครูผู้ช่วย ครู และ
บุคลากรทางการศึกษาอื่น
2) รายงานการอนุญาตการลาออกไปยังสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2. การให้ออกจากราชการ กรณีไม่พ้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือไม่ผ่านการเตรียมความ พร้อมและพัฒนาอย่างเข้มต่ํากว่าเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ.กําหนด
แนวทางการปฏิบัติ
          1) ดําเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือเข้า รับการพัฒนาอย่างเข้มตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กําหนดในกฎ ก.ค.ศ.กําหนด
2) ดําเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบที่กําหนดไว้ในมาตรฐาน กําหนดตําแหน่ง
3) ผู้อํานวยการสถานศึกษาสั่งให้ผู้ที่ไม่ผ่านการประเมินการทดลองปฏิบัติราชการหรือเตรียม ความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มออกจากราชการ
4) รายงานสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบ

ติดต่อเรา